การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้การศึกษาแบบเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ตามด้วย EFA และ CFA โดยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง เริ่มจากการสัมภาษณ์จำนวน 3 รอบ ซึ่งใน รอบที่ 1 ใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 28 ท่าน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นในรอบที่ 2 และ 3 เหลือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 23 ท่าน แล้วทำการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามปลายปิด 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้สมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 60 ข้อความ การวิเคราะห์ผลข้อคำตอบจากแบบสอบถามรอบที่ 3 โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานตั้งแต่ 4.50 ขึ้นไป ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 และความแตกต่างระหว่างฐานนิยม และค่ามัธยฐานไม่เกิน 1.00 ในแต่ละข้อความ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 23 ท่านได้แสดงประเด็นให้เห็นถึง องค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 7 องค์ประกอบ คือ 1.ด้านการประมวลผลสารสนเทศและเทคโนโลยี 2.ด้านการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 3.ด้านการสร้างคอนเทนต์ 4.ด้านความปลอดภัย ความมั่นคงข้อมูล และความเป็นส่วนตัว 5.ด้านการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง 6.ด้านพื้นฐานธุรกิจ 7. ด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ โดยมีความเห็นสอดคล้องในระดับมากที่สุดต่อข้อความ 1) สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ 2) สามารถทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ใช้ Mobile Banking ได้ และ 3) มุ่งเน้นให้ลูกค้าบอกต่อ หรือลูกค้าเดิมมาซื้อซ้ำ เน้นการบริการที่ดี ด้วยค่ามัธยฐาน = 5.00 ค่าพิสัยควอไทล์ = 0.00 และค่าความแตกต่างระหว่างค่าฐานนิยม และค่ามัธยฐาน = 0.00 โดยเมื่อใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ มีองค์ประกอบที่นำมาใช้จริง 7 ด้าน 60 ตัวบ่งชี้ เมื่อผ่านการทำ EFA และ CFA เหลือองค์ประกอบจำนวน 7 ด้าน 54 ตัวบ่งชี้ ส่วนในการทดสอบการยอมรับระบบด้วย TAM กับกลุ่ม SMEs ให้ความสนใจและอยากใช้งานทั้ง 30 คน หรือคิดเป็น 100% โดยส่วนแผนธุรกิจมีลูกค้าเป้าหมายเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ SMEs ประมาณการจะมีรายได้ 5,498,455 ล้านบาทในสิ้นปีที่ 5 และสามารถคืนทุนได้ในปีที่ 2.96